วันนี้ aorest ร้านขาย ดอกไม้หน้าศพ ขายพวงหรีดดอกไม้สด ดอกไม้หน้าเมรุ จะพาทุกคนมารู้จักกับเรื่องของ“การจัดงานบำเพ็ญกุศล” หรือ “พิธีสวดอภิธรรม” นั้นถือว่าเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่มีจุดประสงค์เพื่อให้เจ้าภาพ ครอบครัว และเครือญาติได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้เสียชีวิต อีกทั้งยังเป็นการแสดงออกถึงความเคารพนับถือและความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับด้วยครับ วันนี้หรีดมาลาจะมาอธิบายถึงเรื่องราวเกี่ยวกับพิธีสวดอภิธรรมศพและขั้นตอนการปฏิบัติของพิธีนี้ให้ทุกคนได้ทราบกันครับ เกร็ดความรู้เกี่ยวกับพิธีสวดอภิธรรม ตามประเพณีไทยแล้ว ก่อนที่จะทำการฌาปนกิจศพก็จะมีการจัดงานบำเพ็ญกุศลหรือ “พิธีสวดอภิธรรม” ซึ่งพิธีนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สวดหน้าศพ” และนิยมจัดขึ้นตั้งแต่วันตั้งศพเป็นวันแรกและสวดประจำทุกคืน ส่วนมากจะนิยมสวด 1 คืน, 3 คืน, 5 คืน หรือ 7 คืนค่ะ แต่ในบางกรณีอาจมีการสวดพระอภิธรรมศพจนครบ 100 วัน หรือจนกว่าจะถึงวันฌาปนกิจศพ ส่วนสาเหตุที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยนำเอาคัมภีร์พระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องกับพิธีนี้ก็คือ… 1. สอนให้ผู้ฟังและผู้ร่วมงานนั้นพิจารณาและเห็นสัจธรรมหรือความจริงของชีวิตที่ว่า “ไม่มีใครหลีกหนีความตายได้พ้น” ได้โดยง่าย 2. เป็นการสวด เพื่อให้บุญหรืออุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับ เป็นการแสดงออกถึงความรัก ความเคารพนับถือ และความกตัญญูกตเวทีต่อผู้วายชนม์ที่จากไปอย่างไม่มีวันกลับ 3. เป็นการตอบแทนหรือสนองบุญคุณแก่บิดา มารดา ถึงแก่กรรมลง ตามแบบพระจริยวัตรขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้เสด็จขึ้นไปทรงแสดงพระอภิธรรมเทศนาแด่พุทธมารดาที่สิ้นพระชนม์ไปแล้วบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ […]
พิธีรดน้ำศพ” กับความเชื่อและขั้นตอนการปฏิบัติ วันนี้ aorest ร้านขาย ดอกไม้หน้าศพ ขายพวงหรีดดอกไม้สด ดอกไม้หน้าเมรุ จะพาทุกคนมารู้จักกับ “พิธีรดน้ำศพ” ถือเป็นขั้นตอนแรกในพิธีงานศพไทย ซึ่งจะจัดขึ้นหลังจากผู้ล่วงลับนั้นเสียชีวิตไปไม่นานนักก่อนนำศพใส่โลง โดยส่วนมากเรามักเชิญแขกผู้ร่วมงานที่เป็นคนใกล้ชิด ญาติสนิทมิตรสหาย และบุคคลที่เคารพนับถือไปรดน้ำศพ เพื่อแสดงความเคารพและอาลัยต่อผู้ที่จากไป ขั้นตอนการปฏิบัติในพิธีรดน้ำศพและเกร็ดความรู้เกี่ยวกับพิธีนี้มาฝากกันครับ การอาบน้ำศพ ก่อนจะทำพิธีรดน้ำศพ ทางญาติของผู้เสียชีวิตจะทำการอาบน้ำหรือชำระร่างกายของศพให้สะอาด เพราะเชื่อว่าจะทำให้ผู้ล่วงลับเดินทางไปสู่ภพภูมิอื่นได้อย่างสะอาดบริสุทธิ์ค่ะ โดยบุตร ธิดา หรือญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตจะทำหน้าที่อาบน้ำศพเท่านั้น ไม่นิยมเชิญคนภายนอก เนื่องจากถือว่าเป็นเรื่องภายในครอบครัว ซึ่งการอาบน้ำศพนี้จะอาบด้วยน้ำอุ่นก่อนแล้วล้างด้วยน้ำเย็น และฟอกสบู่ขัดถูร่างกายศพให้สะอาด ทั้งนี้จะมีการใช้สำลีอุดจมูกศพ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเหลืองไหลออกและแมลงไต่ตอมค่ะ เมื่ออาบน้ำศพเสร็จแล้วก็นำขมิ้นมาทาทั่วร่างกายศพ รวมไปถึงฝ่ามือฝ่าเท้า แล้วจึงประพรมด้วยน้ำหอม แต่หากเป็นศพที่ตนเคารพนับถือ เช่น บิดา มารดา ฯลฯ ก็จะใช้ผ้าขาวหรือผ้าเช็ดหน้ามาซับใบหน้า และฝ่ามือฝ่าเท้า เพื่อเก็บไว้กราบไหว้บูชา หรือใช้เป็นผ้าประเจียด จากนั้นจึงจะแต่งตัวศพตามฐานะของผู้เสียชีวิต โดยให้ใส่เสื้อผ้าที่สะอาดและใหม่ที่สุดเท่าที่มีอยู่ แต่หากเป็นข้าราชการก็ให้แต่งเครื่องแบบชุดขาวเต็มยศ ไม่ต้องมีผ้าคลุมใด ๆ ทั้งสิ้น และเมื่อแต่งตัวศพเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงจะนำศพขึ้นนอนบนเตียงสำหรับรอการรดน้ำศพต่อไป การตั้งเตียงพิธี ในพิธีรดน้ำศพนั้น ส่วนมากจะนิยมตั้งเตียงไว้ทางด้านซ้ายของโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย โดยให้ตั้งโต๊ะหมู่บูชาไว้ด้านบนศีรษะของศพ […]
ศาลเจ้าพ่อเสือ (เสาชิงช้า) วันนี้ aorest ร้านขาย ดอกไม้หน้าศพ ขายพวงหรีดดอกไม้สด ดอกไม้หน้าเมรุ จะพาทุกคนมารู้จักกับ ศาลเจ้า (เสาชิงช้า), (อักษรจีนตัวเต็ม: 打惱路玄天上帝廟, ตัวย่อ: 打恼路玄天上帝庙, พินอิน: Dǎ nǎo lù xuán tiān shàngdì miào ตานาวลู่เฉียงเทียนซ่างตี่เมี่ยว, ฮกเกี้ยน: ต้านาวหล่อเอี่ยนเถี้ยนซ่งเต้เบี้ยว) เป็นศาลเจ้าจีนเก่าแก่ซึ่งตั้งอยู่บนถนนตะนาว ใกล้เสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ชาวจีนเรียกศาลเจ้านี้ว่า “ตั่วเหล่าเอี้ย” (เทพเจ้าใหญ่) โดยเป็นที่ประดิษฐานรูปเอี่ยนเถี้ยนส่งเต้, รูปเจ้าพ่อกวนอู และรูปเจ้าแม่ทับทิม ว่ากันว่าศาลเจ้าตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เดิมตั้งอยู่ริมถนนบำรุงเมือง ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดให้ขยายถนนบำรุงเมือง ได้โปรดให้ย้ายศาลมาไว้ที่ทางสามแพร่งถนนตะนาว จนถึงปัจจุบัน
วัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร วันนี้ aorest ร้านขายดอกไม้หน้าศพ ขายพวงหรีดดอกไม้สด ดอกไม้หน้าเมรุ จะพาทุกคนมารู้จักกับวัดสุทัศนเทพวราราม [สุ-ทัด-เทบ-พะ-วะ-รา-ราม] เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ที่มีอยู่เพียงไม่กี่แห่งของประเทศไทย และถือเป็นวัดประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพระนครชั้นใน และอยู่มีสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นคือ เสาชิงช้า อยู่บริเวณหน้าวัด ประวัติ ในต้นยุคกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างวัดขึ้นในพื้นที่พระนครชั้นใน ในปี พ.ศ. 2350 เดิมพระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส” โดยมีพื้นที่ตั้งอยู่ในดงสะแก เป็นที่ลุ่มจึงโปรดเกล้าฯ ให้ถมที่และสร้างเป็นวัด และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อนเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต) ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะประดิษฐานเป็นสังฆาราม จึงเรียกกันว่า วัดพระโต, วัดพระใหญ่ หรือวัดเสาชิงช้าบ้าง จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อ และทรงจำหลักบานประตูพระวิหารด้วยพระองค์เอง แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ การก่อสร้างวัด มาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2390 และปรากฏในจดหมายเหตุว่า “วัดสุทัศนเทพธาราม” และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผูกนามพระประธานในพระวิหาร พระอุโบสถ และศาลาการเปรียญ ให้คล้องกันว่า “พระศรีศากยมุนี”, “พระพุทธตรีโลกเชษฐ์” และ […]
วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (วัดภูเขาทอง) วันนี้ aorest ร้านขายดอกไม้หน้าศพ พวงหรีดดอกไม้สด ดอกไม้หน้าเมรุวัดสระเกศ เป็นวัดโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดสะแก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และขุดคลองรอบพระอาราม แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัดสระเกศ ซึ่งแปลว่า ชำระพระเกศา เนื่องจากเคยประทับทำพิธีพระกระยาสนาน เมื่อเสด็จกรีธาทัพกลับจากกัมพูชามาปราบจลาจลในกรุงธนบุรี และเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติใน พ.ศ. 2325 มูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระราชทานเปลี่ยนชื่อ วัดสะแก เป็นวัดสระเกศนี้ มีหลักฐานที่ควรอ้างถึงคือ พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีข้อ 11 ว่า”รับสั่งพระโองการ ตรัสวัดสะแกเรียกวัดสระเกศแล้วบูรณปฏิสังขรณ์ เห็นควร ที่ต้นทางเสด็จพระนคร”ทรงพระราชวิจารณ์ไว้ว่า”ปฏิสังขรณ์วัดสะแกและเปลี่ยน ชื่อเป็น วัดสระเกศเอามากล่าวปนกับวัดโพธิ์เพราะเป็นต้นทางที่เสด็จเข้ามาพระนครมีคำ เล่า ๆ กันว่า เสด็จเข้าโขลนทวารสรงพระมุธาภิเษกตามประเพณีกลับจากทางไกลที่ วัดสะแก จึงเปลี่ยนนามว่า ‘วัดสระเกศ’ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะและสร้างพระบรมบรรพตหรือภูเขาทอง ทรงกำหนดให้เป็นพระปรางค์มีฐานย่อมุมไม้สิบสอง แต่สร้างไม่สำเร็จในรัชกาล เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงให้เปลี่ยนแบบเป็นภูเขาก่อพระเจดีย์ไว้บนยอด เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ การก่อสร้างแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานนามว่า “สุวรรณบรรพต” มีความสูง 77 เมตร บนยอดสุวรรณบรรพตเป็นที่ตั้งของพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดค้นพบที่เมืองกบิลพัสดุ์ และพิสูจน์ได้ว่าเป็นของพระสมณโคดมซึ่งเป็นส่วนแบ่งของพระราชวงศ์ศากยราชเพราะมีคำจารึกอยู่
วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร วันนี้ aorest ร้านขายดอกไม้หน้าศพ พวงหรีดดอกไม้สด ดอกไม้หน้าเมรุ พาทุกคนมารู้จักกับ วัดที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงเริ่มดำเนินการก่อสร้างที่บรรจุพระอัฐิเจ้านายฝ่ายกรมพระราชวังบวรสถานมงคลที่เฉลียงพระอุโบสถด้านหลังตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงพระราชอุทิศพระราชทรัพย์ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ดำเนินการ แต่การก่อสร้างมาแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งพระราชทานพระราชทรัพย์ให้ราชบัณฑิตยสภาก่อสร้าง ขณะนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นนายกราชบัณฑิตยสภาและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงก่อสร้างจนเสร็จสิ้น ได้มีพิธีอัญเชิญพระอัฐิจากพระราชวังบวรสถานมงคลไปประดิษฐานใน พ.ศ. 2470 เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชประสงค์ที่จะสร้างสิ่งก่อสร้างขึ้นให้คล้ายคลึงกับกรุงศรีอยุธยามากที่สุด วัดที่ตั้งอยู่ใกล้พระบรมมหาราชวังได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ ตลอดจนเปลี่ยนชื่อวัดให้เหมาะสม โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อวัดกลางนาเป็นวัดตองปุ และให้เป็นวัดพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ เช่นเดียวกับวัดตองปุที่กรุงศรีอยุธยา เพื่อเทิดเกียรติทหารชาวรามัญในกองทัพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับพม่าในสงครามเก้าทัพ เมื่อ พ.ศ. 2328 สงครามที่ท่าดินแดงและสามสบ เมื่อ พ.ศ. 2329 และสงครามที่นครลำปางป่าซาง เมื่อ พ.ศ. 2330 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดตองปุแล้วถวายเป็นพระอารามหลวงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงมีชัยชนะต่อพม่าในการรบทั้ง 3 ครั้ง
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ในแขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์มหานิกายภาค 1 วันนี้ aorest ร้านขายดอกไม้หน้าศพ พวกหรีดดอกไม้สด ดอกไม้หน้าเมรุ จะพาทุกคนมารู้จักกับวัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าสร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่) ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็นพระอารามหลวงและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี (สา) พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก จากนั้นได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า นอกจากเป็นเพราะขุดพบระฆังที่วัดนี้และเพื่อฟื้นฟูแบบแผนครั้งกรุงศรีอยุธยาที่มีวัดชื่อเช่นกัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ “โฆสิตาราม” เป็น “วัดราชคัณฑิยาราม” (คัณฑิ แปลว่าระฆัง) แต่ไม่มีคนนิยมเรียกชื่อนี้ วัดโฆสิตารามมีหอพระไตรปิฎกซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามมาก เคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาถวายวัด เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชประสงค์จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้สวยงามเพื่อเป็นหอพระไตรปิฎก ประวัติ เดิมเป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่) ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช […]
วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร วันนี้ AOREST จะพามารู้จักกับวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งใต้ ประวัติ เจ้าพระยานิกรบดินทร์มหินทรมหากัลยาณมิตร (โต) ต้นสกุลกัลยาณมิตร ว่าที่สมุหนายก ได้อุทิศบ้านและที่ดินบริเวณใกล้เคียง ซึ่งแต่เดิมเป็นหมู่บ้านที่มีภิกษุจีนพำนักอยู่ และเรียกกันต่อมาว่า “หมู่บ้านกุฎีจีน” สร้างเป็นวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2368 และน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระราชทานนามว่า และทรงสร้างพระวิหารหลวงและพระประธานพระราชทาน เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ชื่อ พระพุทธไตรรัตนนายก หรือ หลวงพ่อโต ด้วยมีพระประสงค์จะให้เหมือนกรุงเก่า คือมีพระโตอยู่นอกกำแพงเมือง อย่างเช่นวัดพนัญเชิง หลวงพ่อโตเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูง โดยเฉพาะในหมู่ชาวจีน เรียกชื่อแบบจีนว่า ซำปอฮุดกง หรือ ซำปอกง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 5 วา 3 ศอกคืบ สูง 7 วา 2 ศอกคืบ 10 นิ้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชทานช่วยเจ้าพระยานิกรบดินทร์ เสด็จก่อพระฤกษ์เมื่อ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2380อยู่ภายในพระวิหารขนาดใหญ่อยู่กลางวัด ตรงกลางระหว่างวิหารเล็กและพระอุโบสถ พระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ (ป่าเลไลย์) ซึ่งรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างพระราชทาน เป็น […]
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วันนี้ aorest จะพาทุกคนมารู้จักกับ วัดอรุณราชวราราม หรือที่นิยมเรียกกันในภาษาพูดว่า วัดอรุณ เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา พระเจ้าตากฯ ทำศึกเสร็จ แล้วยกทัพกลับมาเป็นเวลาเช้าพอดี ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ตั้งแต่เวลานั้นแล้ว เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2322 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามในปี พ.ศ. 2327 ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ต่อมา และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม” ต่อมามีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างพระปรางค์หน้าวัดให้สูงขึ้น แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน […]
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร AOREST ร้านขายดอกไม้หน้าศพ พวงหรีด ดอกไม้หน้าเมรุ วันนี้จะพาทุกคนมารู้จักกับ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (คำอ่าน: [วัด-พฺระ-เชด-ตุ-พน-วิ-มน-มัง-คะ-ลา-ราม]หรือ [วัด-พฺระ-เชด-ตุ-พน-วิ-มน-มัง-คฺลา-ราม]) โดยทั่วไปเรียก เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร และเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศด้วย เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง และทางยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2551 และวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์จำนวน 1,440 ชิ้น เป็นมรดกความทรงจำโลกในทะเบียนนานาชาติ ประวัติ พิธีราชาภิเษกของพระนโรดมที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามตามประวัติสร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยอยุธยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการสร้าง เดิมเรียกว่า “วัดโพธาราม” ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงในสมัยกรุงธนบุรี ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดนี้ใหม่ในปี พ.ศ. 2331 โดยทรงสร้างพระอุโบสถ พระระเบียง พระวิหาร ตลอดจนบูรณะของเดิม เมื่อแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2344 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส” เป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช นับจากนั้นวัดพระเชตุพนได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้โปรดเกล้าฯ […]