สวรรค์ (สันสกฤต: स्वर्ग, สฺวรฺค) หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนายูดาห์ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามอันเป็นสถานที่ตอบแทนคุณงามความดีของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้www.aorest.com
พระพุทธศาสนา ดูบทความหลักที่: ฉกามาพจร
ในความเชื่อทางศาสนาพุทธ แปลว่า ภูมิหรือดินแดนที่มีอารมณ์เลิศด้วยดี เป็นที่อยู่ของเทวดา เหตุที่ทำให้มาเกิดเป็นเทวดาเพราะได้ สร้างบุญกุศลไว้เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ เมื่ออุบัติขึ้นก็ตั้งอยู่ในวัยหนุ่มสาวทันที งดงามตลอดเวลา จนกว่าจะถึงเวลาจุติ ไม่มีความแก่บังเกิดขึ้นเหมือนในเมืองมนุษย์ วิมานคือที่อยู่อาศัยของเทวดา ล้วนมีความวิจิตรงดงาม มีขนาดแตกต่างกัน มี ความเป็นอยู่สะดวกสบาย มีอาหารทิพย์บังเกิด ขึ้น มีบริวารคอยรับใช้ใกล้ชิด เสื้อผ้าเป็นทิพย์ วิจิตรงดงาม บังเกิดขึ้นให้สวมใส่ กิจกรรมแต่ละวันก็มีการเที่ยวเพลิดเพลินบันเทิงอยู่กับการชมสวน การสังสรรค์กันระหว่างทวยเทพทั้งหลาย ส่วนจะอุบัติขึ้น ณ สวรรค์ชั้นไหน เป็น เทวดาประเภทใด และอยู่ในฐานะอะไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับบุญที่ตัวเองสั่งสมมาเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ซึ่งได้มีกล่าวไว้ในคิลายนสูตร ของพระไตรปิฎกภาษาบาลี ดังนี้[1]
จาตุมหาราชิกา ตั้งอยู่ ณ เชิงเขาพระสุเมรุ ที่ได้ชื่อชั้นจาตุมหาราชิกา เพราะมีเทพผู้เป็นใหญ่ครองชั้นนี้อยู่ 4 ท่าน คือ ท้าวธตรฐปกครองพวกคนธรรพ์ ท้าววิรุฬหกปกครองพวกกุมภัณฑ์ ท้าววิรูปักษ์ปกครองพวกนาค ท้าวเวสสุวรรณปกครองพวกยักษ์
ดาวดึงส์ ตั้งอยู่ที่บนยอดเขาพระสุเมรุ ที่ชื่อว่า ดาวดึงส์ เพราะเป็นที่อยู่ของเทพผู้ปกครองภพถึง 33 องค์ โดยมีท้าวสักกะเป็นประธาน และที่สำคัญมีจุฬามณีเจดีย์ ซึ่งทุกวันพระเทวดาจะมาประชุมกันที่ศาลาสุธรรมา เพื่อรับฟังโอวาทจากท้าวสักกะ
ยามา มีท้าวสุยามะเป็นจอมเทพ
ดุสิต มีท้าวสันดุสิตเป็นจอมเทพ
นิมมานรดี มีท้าวสุนิมมิตเป็นจอมเทพ
ปรนิมมิตวสวัตดี มีท้าววสวัตตีเป็นจอมเทพ
คริสต์ศาสนา โรมันคาทอลิก
ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก มีความหมายต่างจากนิกายโปรเตสแตนต์ที่ถือว่าสวรรค์เป็นสถานที่ทางกายภาพ ชาวคาทอลิกเชื่อกันว่าความรักต่อพระเป็นเจ้าและต่อเพื่อนมนุษย์ ไม่ได้ถูกทำลายด้วยความตายแต่ยังคงอยู่ต่อไป โดยอาศัยพระคริสต์ผู้ทรงชีวิตร่วมกับพระบิดา ดังนั้น เมื่อคนหนึ่งตายจากโลกนี้ไป คนที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ยังมีความสัมพันธ์กับเขาได้ เพราะเขามีชีวิตในความรักของพระบิดา ผู้ล่วงลับมิได้ขาดสายสัมพันธ์แห่งความรักต่อผู้เป็น และพร้อมกับพระคริสต์ เขารอให้ผู้ที่ยังมีชีวิตในโลกจะไปร่วมกับเขาใน “เยรูซาเลมใหม่” หรือ “แผ่นดินใหม่”
พระวรสารใช้โวหารพรรณนาสภาพชีวิตกับพระเจ้าว่า เป็นชีวิตที่ทุกคนรวมกันฉันท์พี่น้องกับพระบิดา หรือเปรียบกับงานเลี้ยงที่ทุกคนได้รับเชิญไปร่วม หรืออธิบายว่าเป็นการชมเชยพระพักตร์พระผู้เป็นเจ้า ที่จริง เรื่องชีวิตกับพระผู้เป็นเจ้าที่เรียกว่า พ้นสติปัญญาของมนุษย์ ส่วนผู้ที่ยังอยู่ในโลก เปาโลอัครทูตอธิบายว่า สำหรับเขาการกลับคืนชีพได้เริ่มแล้ว เพราะพระจิตของพระเยซูผู้ทรงกลับคืนชีพ ทรงโปรดให้เขามีชีวิตใหม่แล้ว เพียงแต่ยังไม่ปรากฏภายนอก ผู้ที่ตายโดยมีชีวิตของพระคริสต์ในตัวเขา มีส่วนในการกลับคืนชีพของพระองค์แล้ว อย่างไรก็ดี เขายังจะต้องรอคอยการกลับคืนชีพของทุกคนรวมกันในวันสุดท้าย เหตุว่า ประชาคมมนุษย์ยังไม่ได้รับการรวบรวมในพระคริสตวรกายอย่างครบบริบูรณ์[2]