News All

ลำดับขั้นตอนการปฎิบัติมีอยู่5อย่างในการจัดพิธีงานฌาปนกิจศพ

พวงหรีด
DSC 6530

      งานศพไทย พิธีฌาปนกิจ พิธีงานศพไทย เมื่อถึงจุดสิ้นสุดของวัฏจักรในการใช้ชีวิตเป็นมนุษย์ เมื่อร่างกายของเราไร้ลมหายใจ เมื่อสังขารถึงคราวดับขันธ์ สิ่งสำคัญที่จะต้องเกิดขึ้นหลังจากนั้นก็คือ การทำพิธีศพ ซึ่งถือเป็นความเชื่อสืบต่อจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ว่าเป็นหนทางในการส่งดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับไปสู่ภพภูมิที่ดี

และเพื่อเป็นเครื่องย้ำเตือนจิตใจของผู้ที่ยังคงเวียนว่ายอยู่ในโลกปัจจุบัน ถึงความไม่เที่ยงแท้ของสังขาร ซึ่งอาจจะเป็นการช่วยส่งเสริมให้ผู้คนรอบข้างตระหนักถึงการสะสมบุญ โดยหมั่นสร้างความดีในขณะที่ยังมีชีวิต เพื่อที่ชาติภพต่อไปจะได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์อีก

ในช่วงชีวิตคนเรา มีความผูกพันกับพิธีศพอยู่หลายครั้ง เมื่อชีวิตเดินทางมาถึงช่วงที่คนรอบข้างกลายเป็นใบไม้ที่ร่วงโรย เมื่อชีวิตเริ่มเติบโตและได้เห็นการล้มหายตายจากของคนที่เรารัก เมื่อนั้นก็จะเกิดความเข้าใจในสัจธรรมต่างๆ มากขึ้น มีเกิด ก็ต้องมีแก่ เมื่อมีแก่ ก็ต้องมีเจ็บและตายเป็นธรรมดาของสังขาร เป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครก็ล้วนแล้วแต่จะต้องเผชิญหน้า และเมื่อถึงวาระที่เราต้องเผชิญ สิ่งที่เราจะได้รับจากการใช้ชีวิตเป็นมนุษย์ก็คือ การจัดพิธีศพเพื่อระลึกถึงเป็นครั้งสุดท้าย

ทั้งนี้จึงอยากให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับพิธี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำพิธีศพ โดยสืบทอดกันมายาวนาน ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญสุดท้ายก่อนร่างกายของผู้ล่วงลับจะสูญสลายไปสู่ภพภูมิใหม่

ฌาปนกิจ

การตั้งศพและฌาปนกิจศพ

– เมื่อตั้งศพและจัดดอกไม้ธูปเทียนเคารพศพไว้เรียบร้อยแล้ว ให้ตามไฟ (คือให้ตั้งตะเกียงมีโคมและหรี่ไฟไว้ที่ปลายเท้าศพ 1 ที่)
– ในพิธีทางราชการ เมื่ออาบน้ำศพและบรรจุศพลงหีบ นำขึ้นตั้งเรียบร้อยแล้ว จะนิมนต์พระสงฆ์ 10 รูป (หรือ 20 รูป) สดับปรกรณ์ (บังสุกุล) จบแล้วถวายไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพและญาติๆกรวดน้ำเป็นอันเสร็จพิธี
– สำหรับศพชาวบ้านทั่วไป ปัจจุบันนิยม นิมนต์พระสงฆ์ 1 รูป (หรือหลายรูปก็แล้วแต่ศรัทธาของเจ้าภาพ) เมื่อพระสงฆ์มาถึงแล้ว เจ้าภาพทอดผ้าบังสุกุลบนหีบศพหรือบนที่ที่เตรียมไว้ นิมนต์พระสงฆ์ชักผ้าบังสุกุล (จะเป็นผ้าไตร จีวร สบง ผ้าเช็ดตัวหรือผ้าเช็ดหน้าก็ได้) เมื่อพระสงฆ์ชักผ้าบังสุกุลแล้ว ก็ถือเป็นอันเสร็จพิธีการตั้งศพ

การจัดสถานที่ตั้งศพ

– กรณีหากผู้ตายเป็นผู้ใหญ่แห่งตระกูล และบริเวณบ้านเรือนกว้างขวางเหมาะสมแก่การตั้งศพบำเพ็ญกุศลได้ ก็นิยมจัดตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่บ้าน เพราะโดยมากก็นิยมตั้งศพบำเพ็ญกุศลไว้เป็นเวลานานอย่างน้อยก็ครบ 100 วัน จึงจะทำพิธีพระราชทานเพลิงศพ
– กรณีผู้ตายเสียชีวิตที่บ้านแต่สถานที่ที่บ้านไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นที่ตั้ง ศพ มักนิยมนำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดใดวันหนึ่งใกล้บ้าน หรือวัดที่เหมาะสมแก่ฐานะของผู้ตาย
– กรณีผู้ตายเสียชีวิตที่โรงพยาบาล นิยมนำศพไปจัดตั้งที่วัด เพราะถือกันว่าไม่ควรนำศพเข้าบ้านและถือปฎิบัติเช่นนั้นโดยทั่วไป

ฌาปนกิจ

การสวดพระอภิธรรม

– การสวดพระอภิธรรม ประจำคืน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “สวดหน้าศพ” นิยมเริ่มจัดทำตั้งแต่วันตั้งศพเป็นต้นไปทุกคืน
– โดยนิยมสวด 1 คืน , 3 คืน , 5 คืน , 7 คืน (ในบางรายหลังจากทำบุญ 7 วันแล้ว อาจจะสวดพระอภิธรรม สัปดาห์ละ 1 วัน จนครบ 100 วัน)
– ตามประเพณีนิยมแต่โบราณ จะนิมนต์พระสวดอภิธรรม 4 รูป และสวด 4 จบ พระสงฆ์ จะลงสวดเวลาตามแต่ละท้องถิ่น (ปกติจะนิยมเริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น.)
– ต้องจัดให้มีเครื่องไทยธรรมพร้อมผ้าสบงเพื่อถวายพระสวดอภิธรรม และบังสุกุลให้ผู้เสียชีวิต (ปัจจุบัน ทางฌาปนสถานหรือทางวัด จะมีบริการจัดหาให้)
– ปัจจัยถวายพระ 4 รูป ตามแต่จะศรัทธา
– ตามประเพณีนิยมมักมีอาหารว่างเลี้ยงแขกที่มาฟังสวดทุกคืน
– ถ้าผู้ตายเป็นข้าราชการผู้ใหญ่ หรือเป็นที่เคารพนับถือของคนทั้งหลาย นิยมเปิดโอกาสให้มีการจองเป็นเจ้าภาพบำเพ็ญกุศลอุทิศให้แก่ท่านผู้ล่วงลับไป แล้ว เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อท่านผู้มีพระคุณ หรือ มีอุปการคุณแก่ตน ตามประเพณีนิยมของสังคม

ฌาปนกิจ

การฌาปนกิจศพ

– การฌาปนกิจศพ ได้แก่ การปลงศพ หรือ เผาศพ เจ้าภาพจะต้องกำหนดวันที่จะทำการที่แน่นอน แล้วทำความตกลงกับเจ้าหน้าที่ของวัดหรือฌาปนสถานก่อนทั้งนี้เพื่อเป็นการ เลือกจองวัน,เวลาที่ต้องการและเพื่อ
– กรณีบรรจุเก็บศพไว้ก่อนที่จะทำการปลงศพ จะต้องนำศพมาตั้งสวดพระอภิธรรมอีกวาระหนึ่ง โดยสวดก่อน 1 คืนแล้ววันรุ่งขึ้นจะทำการเผาศพ
– หรืออาจจะไม่ตั้งสวดพระอภิธรรมอีก เพียงแต่ยกศพขึ้นตั้ง ในตอนเช้าเลี้ยงพระเพลและนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นเทศน์พระธรรมเทศนาในบ่าย แล้วทำการเผาศพในตอนเย็น การกระทำเช่นนี้มักเรียกกันว่า “ตั้งเช้า เผาเย็น”
– ถ้าหากศพนั้นเป็นบุพการี สามี ภรรยา ก็ควรตั้งสวดพระอภิธรรมอีกคืนหนึ่งก่อน เพื่อเป็นเกียรติและระลึกถึงผู้ตายอีกทั้งเป็นการบำเพ็ญกุศลเพิ่มเติมให้อีก

การบำเพ็ญกุศลหน้าศพ

ในวันที่จะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ นั้น จะนิยมบำเพ็ญกุศลอุทิศให้ผู้ตายก่อน เช่น

– จัดพิธีบวชลูกหลานเป็นพระภิกษุหรือสามเณรที่เรียกว่า “บวชหน้าไฟ”
– นิมนต์พระสงฆ์ 10 รูปสวดพระพุทธมนต์ และถวายภัตตาหารเพล (อาจจะเลี้ยงพระเพิ่มจำนวนเท่าใดก็ได้)
– จัดให้มีพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์
– นิมนต์พระสงฆ์สวดมาติกา – บังสุกุล (จำนวนพระสงฆ์ 10 รูปหรือนิยมเท่าอายุผู้ตายหรือตามศรัทธา)
– ถวายเครื่องไทยธรรม กรวดน้ำ เป็นเสร็จพิธีบำเพ็ญกุศลหน้าศพ

เคลื่อนศพไปสู่เมรุ

– หลังจากบำเพ็ญกุศลอุทิศให้ผู้ตาย ก่อนจะเคลื่อนศพไปตั้งที่เมรุนั้น นิยมให้ลูกหลานคนใกล้ชิ้นผู้ตายได้ทำพิธีขอขมาศพ เพื่อเป็นการอภัยโทษที่เคยล่วงเกินต่อกัน โดยตั้งจิต หรือกล่าวคำขอขมาต่อศพนั้นว่า “กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง อะโหสิกัมมัง โหตุ” (ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินต่อท่าน [อาจจะออกนามผู้ตามก็ได้] ทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี ขอท่านได้โปรดอโหสิกรรมด้วยเถิด)

ฌาปนกิจ

พิธีแห่ศพเวียนเมรุ

– การเคลื่อนศพต้องนิมนต์พระสงฆ์ 1 รูป เป็นผู้นำศพ เวียนรอบเมรุ 3 รอบ
– การเวียนต้องเวียนจากขวาไปซ้ายของเมรุ คือ เดินเวียนซ้ายเมรุ (เมรุอยู่ทางซ้ายมือของผู้เดิน) เริ่มจากบันไดหน้าเมรุ
– เจ้าภาพและญาติของผู้ตายต้องเดินเข้าขบวนตามศพเวียนรอบเมรุด้วย
– ถ้าศพนั้นมีรูปถ่ายของผู้ตาย ซึ่งนำไปตั้งไว้ในที่บำเพ็ญกุศล ก็ต้องมีผู้ถือรูปถ่ายนำหน้าศพไปในขบวน โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้นำ และมีคนถือเครื่องทองน้อยหรือกระถางธูปนำหน้าศพ
– ลำดับการแห่ศพ ถือหลัก “พระ-กระถางธูป-รูปภาพ-ศพ-ญาติมิตร”
– เมื่อได้นำศพเวียนรอบเมรุครบ 3 รอบแล้ว เจ้าหน้าที่นำศพขึ้นตั้งบนเมรุ

ฌาปนกิจ

การทอดผ้าบังสุกุล

– การทอดผ้าบังสุกุลนั้น เจ้าภาพจะต้องพิจารณาว่า แขกผู้มีเกียรติชั้นผู้ใหญ่ที่เชิญไว้ มีจำนวนเท่าใดก็จัดผ้าไตรเท่ากับจำนวนแขกชั้นผู้ใหญ่ ส่วนจำนวนมากน้อยเท่าใดนั้นควรให้เป็นไปตามความเหมาะสม
– การเชิญแขกขึ้นทอดผ้าบังสุกุล เจ้าภาพจะต้องไปเชิญด้วยตนเอง โดยมีผู้ถือพานผ้าไตรตามเจ้าภาพไปด้วย
– แต่ถ้าแขกที่เป็นประธานเป็นผู้ใหญ่ชั้นสูง หรือเป็นผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของเจ้าภาพ ก็ควรถือพานผ้าไตรไปเชิญด้วยตนเอง
– เมื่อแขกผู้รับเชิญลุกจากที่นั่ง เจ้าภาพหรือผู้ถือพานผ้าไตรก็เดินตามแขกผู้นั้นไป
– เมื่อขึ้นบันไดเมรุแล้วก็ส่งมอบผ้าไตรให้ ผู้ทอดผ้าก็จะรับผ้าไตรนำไปวางลงตรงที่สำหรับทอดผ้า แต่ถ้าไม่มีการจัดที่สำหรับทอดผ้าไว้ ก็วางผ้าไตรนั้นลงบนหีบศพทางด้านหัวนอนศพ แล้วผู้ทอดผ้าก็คอยอยู่จนกว่าพระสงฆ์จะมาชักผ้าบังสุกุล
– โดยลำดับการเชิญแขกขึ้นทอดผ้าบังสุกุลนั้น จะเชิญแขกผู้มีอาวุโสน้อยไปหามากตามลำดับ และเชิญประธานในพิธีขึ้นทอดผ้าบังสุกุลเป็นอันดับสุดท้าย
– เมื่อประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุลแล้ว ก็เชิญท่านประกอบพิธีประชุมเพลิงต่อไป

ตัวอย่างลำดับพิธีการ

09.00 น. – เชิญศพขึ้นตั้งบนศาลาบำเพ็ญกุศล
10.15 น. – นิมนต์พระสงฆ์ประจำที่อาสน์สงฆ์
10.20 น. – เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
10.25 น. – อาราธนาพระปริตร (กรณีจัดพิธีสวดพระพุทธมนต์ตอนเช้า)
10.30 น. – พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์
11.00 น. – ถวายภัตตาหารเพลและเครื่องไทยธรรม
12.00 น. – เลี้ยงอาหารกลางวันแก่ญาติมิตรและแขกที่มาในงาน
14.00 น. – นิมนต์พระเทศน์ขึ้นบนอาสน์สงฆ์
14.05 น. – เจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย จุดเทียนกัณฑ์เทศน์และหน้าที่ตั้งศพ
14.10 น. – อาราธนาศีล อาราธนาธรรม พระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนา จบแล้วถวายกัณฑ์เทศน์
15.00 น. – นิมนต์พระสงฆ์ 10 รูป ขึ้นอาสน์สงฆ์พร้อมกัน เพื่อสวดมาติกาบังสุกุล
15.30 น. – เคลื่อนศพเวียนเมรู 3 รอบ (พระสงฆ์นำศพ 1 รูป)
15.45 น. – เชิญศพขึ้นสู่เมรุ
16.00 น. – อ่านคำและยืนไว้อาลัย (ถ้ามี)
– เจ้าภาพเชิญแขกผู้ใหญ่ทอดผ้าบังสุกุล (ลำดับจากผู้อาวุโสน้อยไปมาก)
– ประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุลหน้าหีบศพ
– เจ้าภาพเชิญแขกขึ้นประชุมเพลิงและแจกของชำร่วยงานศพให้แขกผู้มีเกียรติ

 

การจัดเตรียม ของชำร่วยงานศพ

 

การจัดเตรียมของชำร่วยงานศพนั้นโดยปกติก็จะต้องเดินทางไปซื้อตามร้านหรือมีจัดหาให้ทางวัดแต่ด้วยราคาและของที่ให้เลือกนั้นมีไม่มากและอาจจะแพง เราจึงได้จัดทำบริการของชำร่วยงานศพที่ส่งด่วนและมีให้เลือกหลากหลายไม่แพงดทำสินค้าเพื่อแจกเป็น ของชำร่วยงานศพ สิ่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตอนนี้จะเป็น ไฟฉาย พิมเสนน้ำ ยาดมสมโอมือ และ แก้วทุกชนิดในร้าน ของชำร่วยประเภทนี้ได้รับความนิยมมาก เพราะสามารถนำไปใช้งานได้จริง ราคาที่ไม่สูงจนเกินไป แพ็คเกจสวยและดูดีคุ้มค่ากับราคา นำไปแจกได้เพื่อเป็นสมเกียรติกับแขกที่มาร่วมงานไว้อาลัย ร้านอาลัยรักเราตั้งใจทำของชำร่วยทุกงานให้ออกมาสมบูรณ์แบบที่สุดเพื่อให้สมกับความไว้วางใจของลูกค้า อย่างเช่น ไฟฉาย เรามีการคัดสรรแบบแต่ละแบบที่มีคุณภาพ สวยสมราคา มีทั้งแบบห่อผ้า ใส่ถุงติดโบว์ พร้อมทำสติกเกอร์ให้กับลูกค้าพร้อมนำไปแจกได้เลย

การเก็บอัฐิ

ในการกำหนดเวลาเก็บอัฐินั้นสุดแล้วแต่เจ้าภาพจะต้องการ โดยนิยมปฎิบัติกัน 2 แบบคือ

1) ทำพิธีเก็บอัฐิในวันเผา : ใช้ปฎิบัติในงานพระราชทานเพลิงศพที่จัดให้มีการบำเพ็ญกุศลอัฐิติดต่อกัน เพื่อรวบรัดงานให้เสร็จภายในวันนั้น
2) ทำพิธีเก็บอัฐิในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น : ใช้ปฎิบัติในงานเผาศพที่เจ้าภาพ ประสงค์จะทำบุญอัฐิในวันรุ่งขึ้น (ทำบุญสามหาบ) หรือยังไม่จัดทำบุญอัฐิเพราะยังไม่พร้อม

บรรจุอัฐิ

– อัฐิที่เหลือจากการเก็บใส่โกศ ซึ่งได้รวบรวมใส่ห่อผ้าไว้นั้น บางรายก็จะซื้อเจดีย์มาบรรจุไว้ที่วัด บางรายก็บรรจุไว้ในเจดีย์หรือพระปรางค์ ซึ่งภายในได้ทำไว้เป็นช่องๆ บางวัดก็ทำที่สำหรับบรรจุอัฐิไว้ตามผนัง กำแพง ระเบียง ของวิหารหรือโบสถ์
– เมื่อญาติได้ตกลงแล้วว่าจะทำการบรรจุอัฐิไว้ที่ใด ก็ติดต่อเจ้าหน้าที่ที่จัดการ ณ ที่นั้น
– เมื่อเวลาบรรจุ จุดธูปเทียนเคารพอัฐิและบอกผู้ตายว่าจะบรรจุอัฐิไว้ในที่นั้น มีโอกาสเมื่อใดก็จะมาบำเพ็ญกุศลให้
– พร้อมกันนั้น นิมนต์พระสงฆ์ 4 รูป มาบังสุกุลให้แก่อัฐิ โดยมีของถวายพระ พร้อมด้วยใบปวารณาตามสมควร
– เมื่อได้บังสุกุลเสร็จแล้ว ก็ใช้น้ำอบหรือน้ำหอมประพรมที่ห่ออัฐินั้น แล้วจึงนำเข้าในที่บรรจุ

 ลอยอังคาร

คำว่า “ลอย” คือการปล่อยให้ลอยตามน้ำ (หรืออากาศ)
คำว่า “อังคาร” คือ เถ้าถ่านของศพที่เผาแล้ว
คำว่า “ลอยอังคาร” จึงหมายถึง การนำอัฐิไปลอยในน้ำ โดยนิยมไปลอยกันในแม่น้ำหรือทะเล

 

ทาง Aorest.com มีบริการ

เรามีบริการจัดส่งดอกไม้งานศพ พวงหรีด ด่วนใน กรุงเทพ,นนทบุรี,สมุทรปราการ,ปทุมธานี,มีนบุรี และปริมณฑล โดยแมสเซ็นเจอร์ หรือ ตัวกระผมเป็นคนไปส่งด้วยตัวเองเพื่อความรวดเร็ว ภายในวันเดียว