วัดยาง” พระอารามหลวง 200 ปี
ประวัติ
วันนี้ร้าน aorest รับจัดดอกไม้ รับจัดดอกไม้หน้าศพ พวงหรีด ดอกไม้หน้าเมรุ จะพาทุกท่านมารู้จักกับวัดนึง เมื่อพูดถึง คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันอาจไม่ค่อยคุ้นหูนัก เนื่องจากเป็นวัดธรรมดา ๆ ที่ไม่มีชื่อเสียงมากนัก แต่หากเป็นคนที่อาศัยอยู่ในย่านอ่อนนุชหรือริมคลองพระโขนงแล้วล่ะก็จะต้องคุ้นเคยหรือเดินทางผ่านวัดแห่งนี้ และเพื่อให้ทุกคนรู้จักพระอารามหลวงที่มีอายุมากกว่า 200 ปีให้มากขึ้น วันนี้จะพาทุกคนไปเที่ยวชมพร้อมเล่าเรื่องราวประวัติและสิ่งที่น่าสนใจภายในวัดกันครับ
ตั้งอยู่ในซอยอ่อนนุช 23 หากเดินทางด้วยรถยนต์ให้เลี้ยวเข้าทางเข้าปากซอยอ่อนนุช ฝั่งถนนสุขุมวิท 77 ในระยะทางไม่ถึง 3 กิโลเมตรก็จะถึงวัด แต่หากเดินทางมาจากคลองพระโขนงไปประเวศ วัดจะอยู่ทางขวา ปัจจุบันวัดแห่งนี้มีเนื้อที่ทั้งหมดโดยประมาณ 24 ไร่ 2 งาน 31 ตารางวา และที่ธรณีสงฆ์อีก 1 แปลงที่มีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ 2 งาน 28 ตารางวา โดยตั้งวัดก่อนในปี พ.ศ. 2384 ซึ่งวัดแห่งนี้เป็นวัดที่สร้างมาอย่างยาวนาน แต่ไม่มีหลักฐานปรากฏเป็นที่แน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด คาดว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ มีอายุมากกว่า 200 ปี สาเหตุที่ชาวบ้านในสมัยก่อนเรียกวัดแห่งนี้ว่า “ วัด(หลวงพ่อโต)” ตามประวัติเล่าว่า… แต่เดิมนั้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษา ต่อมามี “หลวงพ่อโต” พระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ปางมารวิชัยที่สร้างขึ้นจากไม้แกะสลักได้ลอยมาหยุดหรือมายั้งบริเวณท่าน้ำหน้าวัด ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณรอบ ๆ วัดในสมัยนั้นเป็นชาวลาวที่อพยพย้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมากก็ได้อัญเชิญหลวงพ่อโตขึ้นมาตั้งไว้ในวัดเพื่อกราบไหว้บูชา จึงได้ตั้งชื่อวัดว่า “วัดยั้ง” และเมื่อเวลาผ่านไป คนไทยได้ย้ายมาอยู่อาศัยมากขึ้นจึงได้เปลี่ยนหรือเพี้ยนชื่อจากคำว่า “วัดยั้ง” จนกลายเป็นชื่อวัดมาจนถึงปัจจุบัน และเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 วัดแห่งนี้ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระอาหารหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ส่วนคลองที่คนลาวยังคงอาศัยอยู่นั้นยังคงมีชื่อว่า “คลองบ้านหลาย (บ้านมาก)” ที่ตั้งอยู่ห่างจากวัดไปประมาณ 600 เมตร
สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดยาง
พระอุโบสถ
พระอุโบสถของแต่เดิมมีลักษณะเป็นเรือนไม้ เก๋งจีน ก่ออิฐถือปูน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2394 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณปี พ.ศ. 2400 ต่อมาในปี พ.ศ.2496 พระราชพัฒโนดม หรือพระอาจารย์บุญช่วย (บุญช่วย ธมฺมรกฺขิโต) ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสในขณะนั้นให้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้น โดยมีขนาดความกว้าง 6 เมตร ยาว 18 เมตร ลักษณะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มุงหลังคา 2 รดน้ำด้วยกระเบื้องเผาเคลือบสี และสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2500 แต่เนื่องด้วยประชาชนทั่วไปได้เข้ามาร่วมทำกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนาเป็นจำนวนมาก ทำให้มีขนาดพื้นที่รองรับไม่เพียงพอ ในปี พ.ศ. 2536 จึงได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ให้ขยายพื้นที่ของพระอุโบสถเพิ่มเติมเป็นขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 25 เมตร มีลักษณะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ก่ออิฐถือปูน หลังคา 3 รดน้ำ มุงด้วยกระเบื้องดินเผาเคลือบมัน และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537